เมนู

บิดาผู้มีลูกศรอันเจ้าถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้เย็นสงบ
แล้ว ดูก่อนมาณพ ต่อไปนี้บิดาจะไม่เศร้าโศก
จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า ชนเหล่าใด
ที่มีปัญญา มีความอนุเคราะห์ต่อมารดาบิดา ชน
เหล่านั้นย่อมทำอย่างนี้ ย่อมยังมารดาบิดาให้หาย
จากความเศร้าโศก ฉะนั้น.

จบ โคณเปตวัตถุที่ 8

อรรถกถาโคณเปตวัตถุที่ 8



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกฎุมพี
คนหนึ่ง ผู้ที่บิดาตายไป จึงตรัสคำเริ่มต้นนี้ว่า กึ นุ อุมฺมตฺตรูโปว
ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี บิดาของกฏุมพีคนหนึ่งได้ตายไป.
เพราะบิดาตายไป เขาจึงเศร้าโศกร้อนรุ่มกลุ้มใจ เที่ยวร้องไห้
เหมือนคนบ้า ถามผู้ที่ตนพบเห็นว่า ท่านเห็นบิดาของฉันบ้างไหม ?
ใคร ๆ ไม่อาจจะบรรเทาความเศร้าโศกของเขาได้. แต่อุปนิสัย
แห่งโสดาปัตติผล ยังโพลงอยู่ในหทัยของเขา เหมือนประทีปที่
โพลงอยู่ในหม้อ.
ในเวลาเช้ามืด พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็น
อุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของเธอ ทรงพระดำริว่า เราควรจะ
นำเหตุที่เป็นอดีตของกุฏุมพีนี้มาแล้ว ระงับความเศร้าโศก ให้

โสดาปัตติผลแก่เธอ ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้น จึงกลับจากบิณฑบาต
ภายพลังภัตร ไม่ได้พาใครเป็นปัจฉาสมณะไป ไปยังประตูเรือน
ของกฏุมพีนั้น. เขาได้ทราบว่า พระศาสดา เสด็จมา จึงต้อนรับ
นิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไปยังเรือน เมื่อพระศาสดา ประทับ
นั่งบนอาสนะที่เขาบรรจงจัดไว้ ตนเองก็ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ทรงทราบสถานที่ที่บิดาของข้าพระองค์ไปแล้ว
หรือ ? ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า ดูก่อนุบาสก เธอ
ถามถึงบิดาในอัตตภาพนี้หรือ หรือว่า ในอัตตภาพที่ล่วงไปแล้ว.
เขาได้ฟังดังนั้น จึงคิดว่า ได้ยินว่า เรามีบิดามาก ดังนี้ จึงมีความ
เศร้าโศกเบาบาง ได้รับความเศร้าโศกเพียงปานกลาง. ลำดับนั้น
พระศาสดา ตรัสธรรมกถา อันเป็นเครื่องบรรเทาความเศร้าโศก
แก่เขา ทรงทราบเขาว่าปราศจากความเศร้าโศก มีจิตสมควร
จึงให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยสามุกังสิกธรรมเทศนาแล้ว ได้
เสด็จไปยังพระวิหาร.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย สั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า
อาวุโส ท่านทั้งหลาย จงดูพุทธานุภาพเถิด อุบาสก ผู้เพียบพร้อม
ด้วยความเศร้าโศก และร่ำไรเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยัง
ทรงแนะนำในโสดาปัตติผล โดยขณะนั้นนั่นเองได้. พระศาสดา
เสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาบรรจงจัดไว้
แล้ว จึงตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน

ด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลความนั้น แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ที่เรากำจัดความเศร้าโศกของ
กฏุมพีนี้ออกไป แม้ถึงในกาลก่อน ก็ได้กำจัดออกไปเหมือนกัน
ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า :-
ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี บิดาของคฤหบดีคนหนึ่ง ได้
ตายไป. เพราะบิดาตายไป เขาจึงเพียบพร้อมไปด้วยความเศร้าโศก
มีหน้านองไปด้วยน้ำตา นัยน์ตาแดง คร่ำครวญอยู่ เดินเวียนขวา
เชิงตะกอน. บุตรของเขาชื่อว่า สุชาตะ ยังเป็นเด็ก แต่เป็นคน
ฉลาดเฉียบแหลมสมบูรณ์ด้วยปัญญา จึงคิดหาอุบายเครื่องกำจัด
ความเศร้าโศกของบิดา วันหนึ่ง เห็นโคตัวหนึ่ง ตายภายนอกเมือง
แล้ว นำเอาหญ้าและน้ำมาวางไว้ข้างหน้าของโคที่ตายแล้วนั้น
พลางยืนกล่าวว่า เอาจงกิน จงกินเสีย จงดื่ม จงดื่มเถิด. คนผ่านไป
ผ่านมาเห็นเข้าจึงกล่าวว่า สหายสุชาตะ ท่านเป็นบ้าไปแล้วหรือ
ที่ท่านน้อมนำหญ้าและน้ำไปให้โคที่ตายแล้ว เขาไม่ได้โต้ตอบ
อะไร ๆ พวกมนุษย์ จึงพากันไปหาบิดาของเขาแล้ว กล่าวว่า
บุตรของท่านเป็นบ้าไปเสียแล้ว เอาหญ้าและน้ำให้โคที่ตายกิน.
ก็เพราะได้ฟังดังนั้น กฏุมพีก็คลายความเศร้าโศก ที่เกิดขึ้นเพราะ
ปรารภถึงบิดา. เขาถึงความสลดใจว่า ได้ยินว่า บุตรของเรากลาย
เป็นคนบ้าไป จึงรีบไป พลางท้วงว่า นี่แน่ พ่อสุชาตะ เจ้าเป็น

ผู้ฉลาดเฉียบแหลมสมบูรณ์ด้วยปัญญามิใช่หรือ แต่เหตุไฉน
เจ้าจึงเอาหญ้าและน้ำ ให้โคที่ตายกิน จึงกล่าว 2 คาถาว่า :-
เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ จึงเกี่ยวหญ้าที่
เขียวสดแล้ว บังคับโคแก่ที่เป็นสัตว์ตายแล้วว่า
จงกิน จงกิน อันโคตายแล้ว ย่อมไม่ลุกขึ้นกิน
หญ้าและน้ำมิใช่หรือ เจ้าเป็นทั้งคนพาล ทั้งเป็น
คนทรามปัญญา เหมือนคนอื่นที่มีปัญญาทราม
ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ นุ เป็นคำถาม. บทว่า
อุมฺมตฺตรูโปว ได้แก่ เจ้าเป็นเหมือนสภาพคนบ้า คือ ถึงความ
ฟุ้งซ่านแห่งจิต. บทว่า ลายิตฺวา แปลว่า เกี่ยว. บทว่า หริตํ ติณํ
แปลว่า หญ้าสด. บทว่า ลปสิ แปลว่า บังคับ. บทว่า คตสตฺตํ
ได้แก่ ปราศจากชีวิต. บทว่า ชรคฺควํ แปลว่า โคแก่ที่หมดกำลัง.
บทว่า อนฺเนน ปาเนน ได้แก่ หญ้าที่เขียวสด และน้ำดื่มที่ท่านให้.
บทว่า มโต โคโณ สมุฏฺฐเห ได้แก่ โคที่ตายแล้ว หามีชีวิตลุกขึ้น
ได้ไม่. บทว่า ตฺวํสิ พาโล จ ทุมฺเมโธ ความว่า เจ้าชื่อว่าเป็นคนพาล
เพราะประกอบด้วยความเป็นคนพาล และชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาทราม
เพราะปัญญากล่าวคือ เมธาไม่มี. บทว่า ยถา ตญฺโญว ทุมฺมติ
ความว่า แม้คนอื่นที่ไร้ปัญญา ก็พึงบ่นเพ้อไปฉันใด ตัวเจ้าก็บ่นเพ้อ
ถึงสิ่งไร้ประโยชน์ ฉันนั้น บทว่า ยถา ตํ เป็นเพียงนิบาต. อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า ทุมฺมติ ความว่า เจ้าแม้เป็นผู้มีปัญญา ก็เงยหน้า
บ่นเพ้อ เหมือนคนบ้าอื่น ๆ.
สุชาตกุมารได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศความประสงค์
ของตนเพื่อให้บิดายินยอม จึงได้กล่าว 2 คาถาว่า :-
โคตัวนี้ ยังมีเท้าทั้ง 4 ข้าง มีศีรษะ มีตัว
พร้อมทั้งหาง นัยน์ตา ก็มีอยู่ตามเดิม ข้าพเจ้าคิด
ว่า โคตัวนี้ จะพึงลุกขึ้นกินหญ้าสักวันหนึ่ง ส่วน
มือ เท้า กาย และศีรษะ ของคุณปู่ ไม่ปรากฏ แต่
คุณพ่อมาร้องไห้ถึงกระดูกของปู่ที่บรรจุไว้ใน
สถูปดิน จะไม่เป็นคนโง่ไปดอกหรือ.

ความแห่งคาถานั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ :-
โคตัวนี้มีเท้า 4 ข้างนี้ มีศีรษะ มีกายพร้อมด้วยหาง เพราะ
เป็นไปกับด้วยหางและมีเนตรคือนัยน์ตา มีทรวดทรงไม่แตกสลาย
ยังทรงอยู่เหมือนก่อนแต่ตาย. บทว่า อยํ โคโณ สมุฏฺฐเห ความว่า
เพราะเหตุนี้ ผมจึงคิดว่า โคตัวนี้ จะพึงลุกขึ้น คือจะพึงยืนขึ้นได้เอง.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โคเห็นจะลุกขึ้นได้. เพราะเหตุนั้นเรา
จึงเข้าใจว่า โคตัวนี้พึงพยุงกายให้ลุกขึ้นได้โดยพลัน อธิบายว่า
ข้าพเจ้ามีความเข้าใจอย่างนี้. สุชาตกุมาร กล่าวธรรมแก่บิดาว่า
ก็ มือ เท้า กาย ศีรษะ ของคุณปู่ของผมย่อมไม่ปรากฏ แต่คุณพ่อ
ร้องไห้ที่สถูปดิน ที่สร้างไว้บรรจุกระดูกของคุณปู่อย่างเดียว
เป็นผู้ทรามปัญญา คือไม่มีปัญญา ตั้งร้อยเท่า พันเท่า สังขาร

ทั้งหลายมีความแตกไปเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป ผู้รู้แจ้งในข้อนั้น
จะมีความร่ำไรไปทำไม.
บิดาของพระโพธิสัตว์ได้ฟังนั้นแล้ว จึงคิดว่า บุตรของเรา
เป็นบัณฑิต ได้ทำกรรมนี้เพื่อให้เราเข้าใจ เมื่อจะสรรเสริญบุตร
ว่า พ่อสุชาต เอ๋ย เราได้รู้แล้วว่า สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็น
ธรรมดา ตั้งแต่นี้ไป เราจะไม่เศร้าโศก ต้นมีปัญญาอันชื่อว่า
สามารถขจัดความเศร้าโศกเสียได้ พึงเป็นเช่นกับเจ้านี่แหละ
จึงได้กล่าว คาถาว่า :-
เจ้าดับความกระวนกระวายทั้งปวงของเรา
ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือนบุคคลเอาน้ำดับไฟ ที่
ราดด้วยน้ำมัน ได้ถอนขึ้นแล้วหนอ ซึ่งลูกศรคือ
ความเศร้าโศก อันเสียบหทัยของบิดา บิดาผู้มี
ลูกศรอันถอนได้แล้ว เป็นผู้เย็นสงบแล้ว ดูก่อน
มาณพ ต่อไปนี้ บิดาจะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้
เพราะฟังคำของเจ้า ชนเหล่าใดทีมีปัญญา มีความ
อนุเคราะห์ต่อมารดาบิดา ชนเหล่านั้น ย่อมทำ
อย่างนี้ ย่อมยังมารดาบิดาให้หายจากความเศร้า-
โศก เหมือนพ่อสุชาตะทำให้บิดาหายเศร้าโศก
ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺตํ ได้แก่ อันไฟคือความ
เศร้าโศกติดทั่วแล้ว คือลุกโพลงแล้ว. บทว่า สนฺตํ แปลว่า มีอยู่.

บทว่า ปาวกํ แปลว่า ไฟ. บทว่า วารินา วิย โอสิญฺจํ แปลว่า เหมือน
เอาน้ำราด. บทว่า สพฺพํ นิพฺพาปเย ทรํ ความว่า ให้ความกระวน
กระวายแห่งจิตของเราทั้งหมดดับ. บทว่า อพฺพหี วต แปลว่า
ถอนขึ้นแล้ว. บทว่า สลฺลํ ได้แก่ ลูกศรคือความโศก. บทว่า
หทยนิสฺสิตํ ได้แก่ เป็นดังลูกศรอันแทงหัวใจ. บทว่า โสกปเรตฺสฺส
ได้แก่ ถูกความโศกครอบงำ. บทว่า ปิตุโสกํ ได้เก่ ซึ่งความ
เศร้าโศกอันเกิดขึ้นปรารภบิดา. บทว่า อปานุทิ แปลว่า ได้ขจัดแล้ว
บทว่า ตว สุตฺวาน มาณว ความว่า พ่อกุมาร เพราะได้ฟังคำของเจ้า
แล้ว แต่บัดนี้ พ่อจึงไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้. บทว่า สุชาโต ปิตรํ ยถา
ความว่า สุชาตกุมารนี้ให้บิดาของตนพ้นจากความโศก ฉันใด
แม้ชนเหล่าอื่นก็ฉันนั้น ผู้อนุเคราะห์มีความอนุเคราะห์เป็นปกติ
มีปัญญากระทำอย่างนั้น คือกระทำอุปการะแก่บิดาและชนเหล่าอื่น.
บิดาฟังคำของมาณพแล้ว เป็นผู้ปราศจากความโศก จึง
สนานศีรษะ บริโภคอาหาร ประกอบการงาน ทำกาละแล้วได้เป็น
ผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรม-
เทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะแก่ภิกษุเหล่านั้น. เมื่อจบ
สัจจะ ชนเป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผลเป็นตัน. ในกาลนั้น สุชาตกุมาร
ได้เป็นพระโลกนาถในบัดนี้แล.
จบ อรรถกถาโคณเปตวัตถุที่ 8

9. มหาเปสการเปติวัตถุ



ว่าด้วยเปรตกินมูตรคูณเพราะด่าสามี



ภิกษุรูปหนึ่งถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า :-
[94] หญิงเปรตนี้กินคูถ มูตร โลหิต และหนอง
นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร หญิงเปรตนี้ เมื่อ
ก่อนได้ทำกรรมอะไรไว้จึงมีเลือดและหนองเป็น
ภักษาเป็นนิจ ผ้าทั้งหลายอันใหม่และงาม อ่อน
นุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อน อันท่านให้แล้วแก่หญิง
เปรตนี้ ย่อมกลายเป็นเหล็กไป เมื่อก่อนหญิง
เปรตนี้ได้ทำกรรมอะไรไว้หนอ.

เทพบุตรนั้นตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อน หญิงเปรตนี้
เป็นภรรยาของข้าพเจ้า มีความตระหนี่เหนียว
แน่น ไม่ให้ทาน นางได้ด่าและบริภาษข้าพเจ้า
ผู้กำลังให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า จง
กินคูถ มูตร เลือด และหนองอันไม่สะอาดตลอด
กาลทุกเมื่อ คูถ มูตร เลือด และหนอง จงเป็น
อาหารของท่านในปรโลก แผ่นเหล็กจงเป็นผ้า
ของท่าน นางนาเกิดในที่นี้จึงกินแต่คูถและมูตร
เป็นต้นตลอดกาลนาน เพราะประพฤติชั่วเช่นนี้.

จบ มหาเปสการเปติวัตถุที่ 9